กฏหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับ ไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟทางออกฉุก

สรุปข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง แบบฉบับเข้าใจง่าย

สรุปข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง แบบฉบับเข้าใจง่าย

อาคารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอนโด หอพัก หรือสถานประกอบการอย่างอาคารสำนักงาน โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน หรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ล้วนเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากอาศัยอยู่ การวางระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน เพื่อเตรียมรับมือกับภัยต่าง ๆ เช่น การโจรกรรม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรืออัคคีภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น จะได้รับมืออย่างทันท่วงที ช่วยลดความสูญเสียต่าง ๆ ทั้งต่อทรัพย์สินและชีวิตได้

เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า อาคารที่ใช้งานอยู่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน Sunny Emergency Light จะพาไปทำความรู้จักกับระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารเอง จะต้องมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย!

ทำไมต้องมีระบบความปลอดภัยในอาคาร?

การวางระบบความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกอาคารต้องมี เนื่องจากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายในการสร้างตึกตึกหนึ่ง เพื่อที่เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้ หรือโจรกรรม จะได้พาผู้คนในอาคารอพยพออกมาจากอาคารได้อย่างปลอดภัย รวมถึงสามารถป้องกันเหตุ แจ้งเหตุ และระงับเหตุไม่ให้เกิดขึ้น หรือรุนแรงมากขึ้นได้นั่นเอง

ระบบความปลอดภัยในอาคาร มีอะไรบ้าง?

ระบบความปลอดภัยในอาคาร มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างระบบความปลอดภัยในอาคาร เช่น

  • การรักษาความปลอดภัยด้วยเจ้าหน้าที่ รปภ.
  • การใช้ระบบควบคุมการเข้า – ออกทางประตู (Access Control System) 
  • การติดตั้งกล้องวงจรปิด
  • การติดตั้งสัญญาณระบบเตือนภัยอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ หรือระบบสัญญาณการกันขโมยและผู้บุกรุก
  • การติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการระงับภัย เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง
  • การติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินที่ให้แสงสว่างในเวลาที่ไฟดับ
  • การติดตั้งป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน เพื่อนำทางผู้ใช้อาคารหลบหนีไปยังเส้นทางหนีภัยที่ถูกต้อง

อาคาร หรือตึกแบบไหนที่ต้องมีระบบความปลอดภัยในอาคาร

อาคาร หรือตึกทุกประเภทจะต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น การระบายอากาศภายในอาคาร การติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทำบันไดหนีไฟ หรือระบบไฟฟ้าสำรองภายในอาคาร เป็นต้น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้อาคาร 

อย่างไรก็ตาม อาคารแต่ละประเภท จะมีข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารที่แตกต่างกัน เพื่อการวางระบบความปลอดภัยในอาคารที่ได้มาตรฐาน จึงควรปรึกษาผู้ตรวจสอบอาคารก่อนทำการสร้างตึกให้ดี ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้มาก

13 ข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง

13 ข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูง

เพื่อให้คุณเห็นภาพระบบความปลอดภัยในอาคารมากขึ้น เรามีตัวอย่าง 13 ข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูงมาฝาก อ้างอิงมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาคารสูง ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ฉบับที่ 48 (พ.ศ.2540) และฉบับที่ 50 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่ละหัวข้อจะมีความน่าสนใจอย่างไร ไปดูกันเลย!

1. ที่ตั้งของอาคาร

ที่ตั้งของอาคารสูงที่มีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร โดยด้านหนึ่งของที่ดินจะต้องไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ มีขนาดกว้างของถนนอย่างน้อย 10 เมตร และยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดไปเชื่อมกับถนนกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร

2. บริเวณโดยรอบอาคาร

จะต้องทำถนนรอบอาคาร มีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร และปราศจากสิ่งปกคลุม เพื่อให้รถดับเพลิงเข้าออกได้ตามสะดวก

3. การระบายอากาศภายในอาคาร

การติดตั้งท่อลมผ่านผนังกั้นไฟ หรือพื้นที่ที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ จะต้องติดตั้งลิ้นกันไฟอัตโนมัติ และห้ามใช้ทางเดินร่วมบันได ช่องบันได และลิฟต์ของอาคารเป็นส่วนหนึ่งของระบบท่อลมส่ง และท่อลมกลับ

4. ระบบปรับอากาศภายในอาคาร

ระบบปรับอากาศภายในอาคาร ควรมีลมหมุนเวียนตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีขึ้นไป และจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ เพื่อหยุดการทำงานของระบบปรับอากาศภายในอาคารอัตโนมัติ นอกจากนี้จะต้องมีสวิตซ์พัดลมของระบบการขับเคลื่อนอากาศที่เปิด-ปิดด้วยมือได้ โดยจะต้องติดตั้งในที่เหมาะสม สามารถปิดสวิตซ์ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

5. ระบบไฟฟ้าสำรองภายในอาคาร

จะต้องติดตั้งระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองแยกเป็นอิสระจากระบบไฟฟ้าหลัก และต้องทำงานได้เองอัตโนมัติเมื่อระบบไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน และจะต้องจ่ายไฟให้โคมไฟฉุกเฉินตามทางเดิน ห้องโถง บันได และระบบเตือนเพลิงไหม้ สามารถทำงานได้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป

6. สัญญาณเตือนเพลิงไหม้

จะต้องติดตั้งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ในทุก ๆ ชั้น โดยจะต้องส่งเสียง หรือสัญญาณให้คนที่อยู่ในอาคารทราบอย่างทั่วถึง เพื่อทำการอพยพหนีไฟได้อย่างทันท่วงที

7. แบบแปลนไฟฟ้า

จะต้องมีการติดตั้งแผนผังวงไฟฟ้าของแต่ละชั้นอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและกำลัง ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน ระบบแผนผังวงจรของสายดิน หรือแผนผังวงจรการติดตั้งหม้อแปลง เป็นต้น

8. บันไดหนีไฟ

บันไดหนีไฟในระบบความปลอดภัยในอาคาร

จะต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุดสู่พื้นดินอย่างน้อย 2 บันได โดยแต่ละบันไดจะต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 60 เมตร และสามารถอพยพคนออกจากอาคารได้ภายใน 1 ชั่วโมง

9. ดาดฟ้า

จะต้องมีดาดฟ้าที่เป็นที่ว่างโล่ง มีความยาวและความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร เพื่อใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศ และต้องมีทางหนีไฟบนชั้นดาดฟ้าสู่บันไดหนีไฟในตัวอาคารด้วย

10. ระบบบำบัดน้ำเสีย

จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยน้ำกลับสู่แหล่งรองน้ำทิ้ง โดยจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่น เสียง ฟอง หรืออากาศที่สร้างความเดือดร้อน หรือทำให้เป็นอันตรายต่อผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียง

11. ระบบกำจัดขยะมูลฝอย

จะต้องมีจุดพักรวมขยะฝอยที่มีความจุไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาตรที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และผนังทำจากวัสดุทนไฟ

12. ลิฟต์ดับเพลิง

จะต้องมีลิฟต์ดับเพลิงอย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งสามารถจอดได้ทุกชั้น และมีระบบควบคุมพิเศษเพื่อใช้งานในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ โดยหน้าโถงลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้นต้องมีผนัง หรือประตูที่สามารถทนไฟ กันเปลวไฟและควันได้ รวมถึงมีหน้าต่างเปิดออกสู่ภายนอกได้ด้วย

13. กระจกของอาคารสูง

กระจกที่ใช้ทำผนังภายนอกอาคารสูง ต้องเป็นกระจกตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป โดยจะต้องมีวัสดุคั่นกลาง (Safety glass) ที่มีคุณสมบัติป้องกัน หรือลดอันตรายจากการบาดของเศษกระจกแตก และช่วยยึดเศษ หรือชิ้นกระจกไม่ให้หลุดออกเมื่อกระจกแตกร้าว

สรุปเรื่องระบบความปลอดภัยในอาคาร

สรุปเรื่องระบบความปลอดภัยในอาคาร

เป็นอย่างไรกันบ้างกับตัวอย่างข้อกำหนดระบบความปลอดภัยในอาคารสูงที่เรานำมาฝากในบทความนี้ ผู้ใช้อาคารสามารถนำข้อกำหนดที่เรานำมาฝากไปใช้สังเกตตึกอาคารที่ตนเองอยู่ได้เลย รับรองเลยว่าจะสามารถประเมินเบื้องต้นได้แน่นอนว่าอาคารที่ตนอาศัยอยู่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานหรือไม่ ส่วนใครที่กำลังวางแผนจะสร้างตึกก็อย่าลืมที่จะศึกษาข้อมูลให้ดี เพื่อที่จะได้สร้างตึกให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงมอบความปลอดภัยให้กับผู้ใช้อาคารได้ โดย Sunny Emergency Light ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ระบบรักษาความปลอดภัยในอาคารสูงของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยโคมไฟฉุกเฉิน SUNNY ที่ได้มาตรฐานระดับสากล สามารถทำงานเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง มั่นใจในคุณภาพของเครื่องด้วยระบบ Auto Check ที่คอยตรวจสอบการทำงานของตัวเครื่องอยู่เสมอ รับรองว่าจะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน!

Visitors: 61,132